วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ว่านมงคนต่างๆและความเป็นมา

ว่านมงคนต่างๆและความเป็นมา

สำหรับของไทยมีเค้าเงื่อนของการเลี้ยงว่านจากสายวัฒนธรรมมอญและเขมรตั้งแต่โบราณ ตำราพิชัยสงครามทุกเล่มระบุว่าว่าน คือสุดยอดของคงกระพัน ถ้าปกติธรรมชาติ นักรบสมัยก่อนนิยมการอาบว่านมงคล  เคี้ยวว่านมงคล  โบราณจารย์ในอดีตล้วน ปลูกว่านมงคล  เลี้ยงว่านมงคล  เพื่อนำมาใช้ประโยชน์  ปรากฏหลักฐานตามตำนานของการสร้างพระรอดลำพูน ว่าการสร้างพระรอด จะกล่าวถึงสุกกทันต์ฤษี และวาสุเทพฤษี ประชุมฤษี ๑๐๘ รูป  มาชุมนุมรวมสร้าง โดยเอาดินที่บริสุทธิ์จากใจกลางทวีปทั้ง ๕  ตัวยา ๑,๐๐๐ ชนิด  เกสรดอกไม้ ๑,๐๐๐ ชนิด  และว่านมงคลต่างๆกว่า ๑,๐๐๐ ชนิด 
นำมาผสมรวมกันจนละเอียดกดลงในพิมพ์นำไปเผา  เสร็จแล้ว สุกกทันตฤษี  วาสุเทพฤษี  ได้ทำพิธีปลุกเสกด้วยเวทมนต์อันศักดิ์สิทธิ์และเนื่องจากการสร้างพระรอดจากวัสดุต่างๆ นำมาผสมกัน ดังกล่าวแล้วจึงปรากฏว่าองค์พระ ที่สร้างมีสีมากสีเนื่องจากส่วนผสมและการเผา จึงได้พบสีต่างๆ ได้แก่  สีเขียว  สีเขียวอ่อน  สีขาวปนเหลือง  สีดำ  สีแดงสีดอกพิกุล  เป็นต้น   พระเครื่องเนื้อดิน เนื้อผงล้วนมีส่วนผสมสำคัญคือว่าน การเปิดกรุวัดตาเถรขึงหนัง ที่สุโขทัย กลิ่นหอบตลบของว่านเสน่ห์จันทร์ที่สร้างแต่ยุคกรุงสุโขทัย(ประมาณ พ.ศ. 1800)ที่ยังคงกำซาบซ่านมาจนทุกวันนี้ ภาคเหนือที่ดอยคำจังหวัดเชียงใหม่เจดีย์ถล่มทลายพบพระพิมพ์สามหอมที่ผสมด้วยว่านหอมของภาคเหนือเป็นสำคัญ  คนไทยที่เป็นนักสู้อยู่บนหลังม้า หรือถือดาบอยู่บนดินต่างชำระร่างกายด้วยว่าน  เคี้ยวว่าน  หรือสวมผ้าประเจียดและรัดแขนด้วยว่าน เช่นกัน

เครดิต : http://wadtudep.lnwshop.com/webboard/viewtopic/6
 Tags : กระชายดำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น